บ้านตู้คอนเทนเนอร์ รับวิวสวนเมืองร้อน
บ้านและสวน ฉบับเดือนเมษายน 2562 เพิ่งนำเสนอบ้านที่สร้างจากตู้คอนเทนเนอร์ในจังหวัดขอนแก่นไป บ้านหลังนั้นมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการสร้างบ้านชั่วคราว
สำหรับครอบครัวสถาปนิกจึงเลือกใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ง่ายต่อการก่อสร้างและขยับขยาย แนวคิดตั้งต้นแบบเดียวกันได้เกิดขึ้นกับบ้านหลังนี้ซึ่งตั้งอยู่ในย่าน Canggu บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในท้ายที่สุด บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ที่ตั้งใจทำเป็นบ้านชั่วคราว ก็กลายเป็นบ้านสวยแบบถาวรของครอบครัวเช่นเดียวกัน
Mr. Andika Japa Wibisana สถาปนิกผู้ออกแบบแห่ง Studio Tana เล่าให้ฟังว่า เจ้าของบ้านต้องการปลูกบ้านและทำออฟฟิศเล็กๆบนที่ดินผืนนี้ แต่เจ้าของที่ไม่ยอมขาย จึงมีแนวคิดสร้าง บ้านตู้คอนเทนเนอร์ เผื่อไว้ว่าจะสามารถย้ายไปสร้างใหม่ได้ ผู้ออกแบบมองเห็นถึงความเป็นไปได้จึงนำเสนอแบบบ้าน ที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างครบถ้วน
บ้านใหญ่บนเกาะบาหลี มุมนี้มองจากสวนหลังบ้านไปสู่ด้านถนน ชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่นรับวิวยาวตลอดแนว
ระเบียงบนชั้นสองของห้องนอนใหญ่ยื่นยาวออกมาเป็นรูปตัวแอล รับวิวสวนและแสงตอนเช้า โดยปลูกต้นไม้ช่วยสร้างความร่มรื่น
นอกชานตามแนวยาวของตัวบ้าน ส่วนสวนอยู่ในระดับต่ำกว่าตัวบ้านตามลักษณะพื้นที่เดิม
ทางเข้าด้านข้างบ้านเป็นที่เก็บงานระบบอย่างเครื่องคอมเพรสเซอร์ หากมองจากถนนที่จอดรถด้านหน้าจะไม่เห็น
เนื่องจากตัวบ้านอยู่ต่ำกว่าระดับถนนและปลูกต้นไม้ช่วยพรางตาด้วย
“บางทีก็มีสมาชิกของครอบครัวใหญ่มาจากจาการ์ตา จึงออกแบบให้พื้นที่นั่งเล่นนี้ต่อเนื่องกันกับสวนด้านหลัง บางส่วนยังแบ่งเป็นแปลงปลูกผักให้เด็กๆ ด้วย” ผู้ออกแบบเล่าถึงการใช้งาน
จากลานจอดรถมองไปยังด้านหน้าบ้านซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบเป็นผนังทึบเพื่อความเป็นส่วนตัว
หลังคาสูงมีส่วนช่วยป้องกันแดดและมีความลาดเอียงเพื่อกันฝนที่ตกหนักตามสภาพภูมิอากาศของบาหลี
ประตูหน้าบ้านและบันไดที่แบ่งทางสัญจรเป็นฝั่งซ้ายและขวา ด้านขวาคือส่วนออฟฟิศซึ่งกั้นด้วยผนังลอนของตู้คอนเทนเนอร์
บันไดและประตูทางเข้าด้านหน้าของบ้าน ลึกเข้าไปมีประตูของส่วนออฟฟิศแยกอีกทาง ส่วนท่อเหล็กสีดำด้านบนคือรางระบายน้ำ
สำหรับตัวบ้าน พื้นที่ส่วนซ้ายกั้นเป็นออฟฟิศด้วยผนังและบันได ด้านขวาเป็นห้องนั่งเล่นเปิดโล่ง ลึกเข้าไปด้านหลังเป็นส่วนบริการต่างๆ เมื่อขึ้นไปด้านบน ตู้คอนเทนเนอร์ที่ติดกับสวนออกแบบให้ยื่นออกไปรับวิวพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ถือเป็นห้องนอนใหญ่ของบ้าน อีกส่วนซึ่งแยกตู้คอนเทนเนอร์กันเป็นห้องครัวและห้องรับประทานอาหาร ส่วนนี้ตกแต่งให้ดูมีความเป็นตู้น้อยที่สุด เพดานกรุฝ้าสีขาวเช่นเดียวกับผนัง มีการใช้ไม้จริงเพื่อลดทอนความดิบของเหล็กในหลายจุด ด้านผนังกระจกปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันความร้อนที่มาตกกระทบ ปีกอีกด้านของชั้นสองที่แบ่งด้วยบันไดเป็นห้องนอนเล็กอีก 2 ห้อง แบ่งเป็น 1 ตู้ต่อ1 ห้อง ตรงนี้จะเห็นหลังคาเหล็กซึ่งเป็นผิวชั้นที่สองของอาคารที่ลาดขึ้นไปเป็นชายคาด้านนอกได้อย่างชัดเจน ทำระเบียงทางเดินยาวรับกับระเบียงนอกอาคารที่เป็นตะแกรงเหล็กฉีก ซึ่งสร้างแสงเงาที่สวยงามให้พื้นที่ภายใน
ห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่เปิดโล่ง โครงสร้างเป็นเหล็กและกระจกรับแสงแดดเฉพาะช่วงเช้า
เพดานสูงช่วยระบายความร้อน ตกเย็นก็สามารถแวะมานั่งสังสรรค์กันได้
ผนังอีกด้านของห้องนั่งเล่น ชั้นล่างเป็นพื้นที่ซักล้างและห้องน้ำ ส่วนด้านบนเห็นได้ชัดถึงการจัดวางตู้คอนเทนเนอร์ที่แยกเป็นตู้ๆ ซึ่งครอบด้วยโครงเหล็กขนาดใหญ่อีกชั้น
พื้นที่เปิดโล่งภายใน ชั้นบนเป็นครัวแพนทรี่ ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่นั่งเล่นภายในตู้คอนเทนเนอร์ คุมโทนด้วยสีเอิร์ธโทน
ระเบียงของห้องนอน ด้านบนของหลังคามีท่อรางน้ำขนาดใหญ่แฝงอารมณ์แบบอินดัสเทรียล เดิมทีไม่มีรางเหล็กในส่วนนี้ แต่ด้วยปริมาณฝนที่ตกหนักและหลังคาที่ใหญ่มาก จึงทำรางส่วนนี้เสริมเข้ามา
ภายในห้องนอน ผู้ออกแบบตั้งใจลดความแข็งของเหล็กด้วยงานไม้ ผนังและฝ้าสีขาวแบบบ้านทั่วไป งานระบบซ่อนอยู่ในกล่องที่เสมือนท่ออยู่ด้านบน โดยไม่กดฝ้าเพดานลงมาทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดด้านความสูงของตู้คอนเทนเนอร์
บ้านตู้คอนเทนเนอร์ รับวิวสวนเมืองร้อน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ARA CAFE คาเฟ่ทรงสามเหลี่ยม จากตู้คอนเทนเนอร์สามหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : บ้านและสวน
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.baanlaesuan.com
Mr. Andika Japa Wibisana สถาปนิกผู้ออกแบบแห่ง Studio Tana เล่าให้ฟังว่า เจ้าของบ้านต้องการปลูกบ้านและทำออฟฟิศเล็กๆบนที่ดินผืนนี้ แต่เจ้าของที่ไม่ยอมขาย จึงมีแนวคิดสร้าง บ้านตู้คอนเทนเนอร์ เผื่อไว้ว่าจะสามารถย้ายไปสร้างใหม่ได้ ผู้ออกแบบมองเห็นถึงความเป็นไปได้จึงนำเสนอแบบบ้าน ที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างครบถ้วน
บ้านใหญ่บนเกาะบาหลี มุมนี้มองจากสวนหลังบ้านไปสู่ด้านถนน ชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่นรับวิวยาวตลอดแนว
แนวคิดด้านโครงสร้างคือการออกแบบบ้านให้มีลักษณะเป็นกล่องเล็กในกล่องใหญ่ โดยกล่องใหญ่คือโครงเหล็กและกระจกที่ช่วยให้เกิดเป็นผนังสองชั้น ลดทอนแสงแดดและความร้อนจากภายนอก ภายในบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ 18 ตู้ มีการเปิดพื้นที่โล่งเพดานสูงเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลาง
ระเบียงบนชั้นสองของห้องนอนใหญ่ยื่นยาวออกมาเป็นรูปตัวแอล รับวิวสวนและแสงตอนเช้า โดยปลูกต้นไม้ช่วยสร้างความร่มรื่น
นอกชานตามแนวยาวของตัวบ้าน ส่วนสวนอยู่ในระดับต่ำกว่าตัวบ้านตามลักษณะพื้นที่เดิม
ทางเข้าด้านข้างบ้านเป็นที่เก็บงานระบบอย่างเครื่องคอมเพรสเซอร์ หากมองจากถนนที่จอดรถด้านหน้าจะไม่เห็น
เนื่องจากตัวบ้านอยู่ต่ำกว่าระดับถนนและปลูกต้นไม้ช่วยพรางตาด้วย
“บางทีก็มีสมาชิกของครอบครัวใหญ่มาจากจาการ์ตา จึงออกแบบให้พื้นที่นั่งเล่นนี้ต่อเนื่องกันกับสวนด้านหลัง บางส่วนยังแบ่งเป็นแปลงปลูกผักให้เด็กๆ ด้วย” ผู้ออกแบบเล่าถึงการใช้งาน
ที่ดินผืนนี้มีความลาดเอียงเล็กน้อยจากด้านหน้าถนน เมื่อมองลงมาตัวบ้านจึงอยู่ต่ำกว่าระดับถนนราวครึ่งชั้น และสวนที่อยู่ลึกเข้าไปก็มีความลาดต่ำลงไปเรื่อยๆ ฉะนั้นเมื่อมองย้อนจากสวนกลับไปยังตัวบ้าน บ้านจึงเหมือนอยู่บนเนินหญ้าสีเขียวสดที่ได้บรรยากาศดีๆ จากเสียงลำธารเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆ
จากลานจอดรถมองไปยังด้านหน้าบ้านซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบเป็นผนังทึบเพื่อความเป็นส่วนตัว
หลังคาสูงมีส่วนช่วยป้องกันแดดและมีความลาดเอียงเพื่อกันฝนที่ตกหนักตามสภาพภูมิอากาศของบาหลี
ประตูหน้าบ้านและบันไดที่แบ่งทางสัญจรเป็นฝั่งซ้ายและขวา ด้านขวาคือส่วนออฟฟิศซึ่งกั้นด้วยผนังลอนของตู้คอนเทนเนอร์
บันไดและประตูทางเข้าด้านหน้าของบ้าน ลึกเข้าไปมีประตูของส่วนออฟฟิศแยกอีกทาง ส่วนท่อเหล็กสีดำด้านบนคือรางระบายน้ำ
สำหรับตัวบ้าน พื้นที่ส่วนซ้ายกั้นเป็นออฟฟิศด้วยผนังและบันได ด้านขวาเป็นห้องนั่งเล่นเปิดโล่ง ลึกเข้าไปด้านหลังเป็นส่วนบริการต่างๆ เมื่อขึ้นไปด้านบน ตู้คอนเทนเนอร์ที่ติดกับสวนออกแบบให้ยื่นออกไปรับวิวพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ถือเป็นห้องนอนใหญ่ของบ้าน อีกส่วนซึ่งแยกตู้คอนเทนเนอร์กันเป็นห้องครัวและห้องรับประทานอาหาร ส่วนนี้ตกแต่งให้ดูมีความเป็นตู้น้อยที่สุด เพดานกรุฝ้าสีขาวเช่นเดียวกับผนัง มีการใช้ไม้จริงเพื่อลดทอนความดิบของเหล็กในหลายจุด ด้านผนังกระจกปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันความร้อนที่มาตกกระทบ ปีกอีกด้านของชั้นสองที่แบ่งด้วยบันไดเป็นห้องนอนเล็กอีก 2 ห้อง แบ่งเป็น 1 ตู้ต่อ1 ห้อง ตรงนี้จะเห็นหลังคาเหล็กซึ่งเป็นผิวชั้นที่สองของอาคารที่ลาดขึ้นไปเป็นชายคาด้านนอกได้อย่างชัดเจน ทำระเบียงทางเดินยาวรับกับระเบียงนอกอาคารที่เป็นตะแกรงเหล็กฉีก ซึ่งสร้างแสงเงาที่สวยงามให้พื้นที่ภายใน
ห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่เปิดโล่ง โครงสร้างเป็นเหล็กและกระจกรับแสงแดดเฉพาะช่วงเช้า
เพดานสูงช่วยระบายความร้อน ตกเย็นก็สามารถแวะมานั่งสังสรรค์กันได้
ผนังอีกด้านของห้องนั่งเล่น ชั้นล่างเป็นพื้นที่ซักล้างและห้องน้ำ ส่วนด้านบนเห็นได้ชัดถึงการจัดวางตู้คอนเทนเนอร์ที่แยกเป็นตู้ๆ ซึ่งครอบด้วยโครงเหล็กขนาดใหญ่อีกชั้น
พื้นที่เปิดโล่งภายใน ชั้นบนเป็นครัวแพนทรี่ ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่นั่งเล่นภายในตู้คอนเทนเนอร์ คุมโทนด้วยสีเอิร์ธโทน
เห็นได้ว่าแม้จะเป็นบ้านเหล็กที่ดูแข็งกระด้าง แต่รายละเอียดทุกส่วนของการออกแบบมีแนวคิดที่ตอบสนองการใช้ชีวิตแบบทรอปิคัลเป็นอย่างมาก มีความเป็นตะวันออกที่ผสมผสานวัสดุเชิงอุตสาหกรรม จนกลายเป็นบ้านขนาดใหญ่ที่เกิดจากตู้คอนเทนเนอร์ 18 ตู้ที่อยู่ได้อย่างสะดวกสบายและรับกับสวนสวยได้อย่างลงตัว
ระเบียงของห้องนอน ด้านบนของหลังคามีท่อรางน้ำขนาดใหญ่แฝงอารมณ์แบบอินดัสเทรียล เดิมทีไม่มีรางเหล็กในส่วนนี้ แต่ด้วยปริมาณฝนที่ตกหนักและหลังคาที่ใหญ่มาก จึงทำรางส่วนนี้เสริมเข้ามา
ภายในห้องนอน ผู้ออกแบบตั้งใจลดความแข็งของเหล็กด้วยงานไม้ ผนังและฝ้าสีขาวแบบบ้านทั่วไป งานระบบซ่อนอยู่ในกล่องที่เสมือนท่ออยู่ด้านบน โดยไม่กดฝ้าเพดานลงมาทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดด้านความสูงของตู้คอนเทนเนอร์
ครัวแพนทรี่บนชั้นสองในตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีเสาโครงสร้างกั้นอยู่ตรงกลาง
พื้นที่รับประทานอาหารและนั่งเล่นบนชั้นสองที่มีความเป็นส่วนตัวกว่าชั้นล่าง
บ้านตู้คอนเทนเนอร์ รับวิวสวนเมืองร้อน
บ้านสวย ก.ค.2562
ออกแบบ: Studio Tana by Mr. Andika Japa Wibisana
ที่ตั้ง: เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
เรื่อง : สมัชชา วิราพร
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ARA CAFE คาเฟ่ทรงสามเหลี่ยม จากตู้คอนเทนเนอร์สามหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : บ้านและสวน
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.baanlaesuan.com